ตะกร้าสินค้า

ไม่พบสินค้าในรถเข็น

ปัญหาสุขภาพทั่วไป

รูมาตอยด์

ให้เรตสมาชิก: 0 / 5

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

เป็นภูมิเพี้ยนที่มีการอักเสบของข้อ ร่วมกับสิ่งตรวจพบเฉพาะโรค เชื่อว่ามีสาเหตุจากภูมิคุ้มกันทำร้ายตนเอง (ภูมิเพี้ยน) พบมากในหญิง (หญิง:ชาย = 4.5:1) ช่วงอายุ 24 – 45 ปี 

แล้วทำไมจึงเกิดภูมิเพี้ยนขึ้นในคนผู้นั้น? …ก็ยังมีหลายสมมติฐาน เช่น รหัสพันธุกรรมเพี้ยน, การติดเชื้อไวรัสบางชนิด, ยาหรือสารเคมีบางอย่าง แม้กระทั่งนมวัวที่ได้รับตั้งแต่เด็ก ก็อยู่ในข่ายต้องสงสัยว่าเป็น oxidative stress ไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ผิดเพี้ยนไป …ซึ่งหากเกิดกับข้อ ก็เป็นอาการที่เรียก “รูมาตอยด์”

การวินิจฉัย รูมาตอยด์ ต้องประกอบด้วย :-

  1. มีการอักเสบ (ปวด บวม แดงร้อน) มากกว่า 4 ข้อขึ้นไป
  2. เป็นทั้งสองข้างพร้อมกัน
  3. เป็นทุกวันตลอดเวลาเกินกว่า 6 เดือนขึ้นไป
  4. ข้อที่พบบ่อย คือ ข้อมือ โคนนิ้วมือ กลางนิ้วมือ ข้อเท้า
  5. มีอาการข้อยึดทุกข้อในช่วงเช้า (morning stiffness) เป็นเวลานานกว่า 15 นาที
  6. มักมีอาการร่วม เช่น ไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดเมื่อย
  7. ผลตรวจเลือด 99% ของผู้ป่วย พบมีการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดงสูง (ESR = Erythrocyte Sedimentation Rate )
  8. 50% ของผู้ป่วยพบว่ามี รูมาตอยด์ แฟคเตอร์เป็นบวก (Rh factor positive)

อาการอักเสบมักรุนแรงและเรื้อรัง จนกระดูกอ่อน, กระดูก และเส้นเอ็นของข้อ เสื่อมไป เยื่อหุ้มข้ออักเสบหนาตัว กลายเป็นโรคข้อจนถึงพิการผิดรูป

แต่ในแนวทางธรรมชาติบำบัด จะให้ความสำคัญไปถึงการปลดปล่อยสาเหตุ ในระดับเซลล์พื้นฐาน เช่นการรักษา ทางแพทย์แบบแผน จะเป็นการทุเลาอาการอักเสบ กดหรือยับยั้งปฏิกิริยาอักเสบ ลดอาการปวด เช่น ให้แอสไพริน ไอบิวโปรเฟน อินโดเมทาซิน หรือสารยับยั้งข้ออักเสบ เช่น คลอโรควิน เมโทเทรกเสท ร่วมกับการบำบัดฟื้นฟูข้อ

  1. ทำตามเกณฑ์ทั่วไปในการดูแลภูมิเพี้ยน เน้นแร่ธาตุแมกนีเซียม หากขาดธาตุนี้มักส่งผลแคลเซียมเกาะ กระดูกเปราะ พรุน แตกหัก อักเสบง่าย สมควรใช้ชีวโมเลกุล รวมทั้งน้ำมันปลามากเป็นพิเศษ คือ 3 – 7 กรัม/วัน
  2. กลูโคซามีนซัลเฟต เป็นสารอาหารที่ใช้สร้างเนื้อเยื่อกระดูกและข้อ ขนาด 1500 – 2000 มก./วัน ทานพร้อมอาหาร ค่อนข้างเห็นผลช้า เพราะเป็นการสร้างพื้นฐานเนื้อเยื่อขึ้นใหม่ แต่ก็ดีกว่ากินเฉพาะยาแก้ปวด, แก้อักเสบ
  3. เพิ่มพรอสตาแกลนดิน เช่น จากขิงผง หรือไฟโตเอสโตรเจนจากถั่วเหลือง
  4. มีรายงานผลการใช้วิตามินบี5 (pantothenic acid)
    • ขนาด  500 มก./วัน เป็นเวลา 2 วันแรก แล้วเพิ่มเป็น
    • ขนาด 1000 มก./วัน เป็นเวลา 3 วันต่อมา แล้วเพิ่มเป็น
    • ขนาด 1500 มก./วัน เป็นเวลา 4 วันต่อมา แล้วเพิ่มเป็น
    • ขนาด 2000 มก./วัน เป็นเวลา 2 เดือน พบว่าได้ผลในการลดความรุนแรงของอาการปวดข้อรูมาตอยด์ อย่างมีนัยสำคัญ
  5. เสริมการล้างพิษด้วย ความร้อน เช่น อบซาวน่า
  6. ใช้เซลล์ซ่อมเซลล์พื้นฐานตามหลักการแพทย์ชีวโมเลกุล เช่น ซ่อมต่อมไทมัส ซึ่งบกพร่องในการสร้างภูมิคุ้มกัน ซ่อมต่อมหมวกไต ซึ่งเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนแห่งความเครียด ความสมดุลของความคงอยู่ของมวลกระดูก ซ่อมบำรุงกระดูก โดยเฉพาะกระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อ รวมทั้งอวัยวะรวม ทั้งนี้ อาจพบอาการปวดข้อ ปวดกระดูก มากขึ้นบ้างในเดือนแรกของการใช้ชีวโมเลกุล จากนั้นอาการจึงมักดีขึ้น

สรุปแนวการพึ่งตนเองตามหลักสุขภาพพื้นฐานหรือการแพทย์ทางเลือก

  1. น้ำมันปลา 2x3 ต่อเนื่อง (ควรใช้ระดับคุณภาพยาเท่านั้น)
  2. เซลล์ซ่อมเซลล์ ด้วย ไทมัส, หมวกไต อย่างละ1x3, อวัยวะรวม 1x1
  3. โอพีซี 1x3 + โคคิวเทน 1x3 (หรือใช้ชนิดรวมในเม็ดเดียวกัน)
  4. โคลีนบี 1x3, เบต้ากลูแคน 1x3
  5. นมถั่วเหลือง เช้า – เย็น หรือก่อนนอน
  6. ใช้แมกนีเซียมละลายน้ำดื่ม

ต่อเมื่ออาการดีขึ้นแล้ว จึงค่อยๆ ลดยาแก้ปวดยาที่ออกฤทธิ์อันไม่พึงประสงค์ จนสามารถเลิกยาระงับอาการได้ในที่สุด

EasyCookieInfo