ตะกร้าสินค้า

ไม่พบสินค้าในรถเข็น

ปัญหาสุขภาพทั่วไป

ไมเกรน

ให้เรตสมาชิก: 0 / 5

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

ไมเกรนมีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่า Hemikrania แปลว่า “ครึ่งหนึ่งของศีรษะ” ใช้เรียกอาการปวดศีรษะ ที่มักปวดข้างเดียว (แต่ก็อาจลามไปขมับทั้ง 2 ข้างได้)

        อุบัติการณ์ & อาการ พบในหญิง : ชาย = 3:1 เป็นในช่วงอายุ 25 – 55 ปี โดยพันธุกรรมมีส่วนร่วม อาการปวดศีรษะจากความเครียด มักเป็นแบบปวดซีกใดซีกหนึ่ง หรือทั่วทั้งศีรษะ ปวดต่อเนื่อง มักมีอาการเจ็บบริเวณคอและหลังส่วนบน ร่วมกับอาการหน้ามืด ตาลาย และเวียนศีรษะ ปวดคลัสเตอร์ เป็นแบบตุ๊บๆ ซีกหนึ่งของศีรษะ วันละหลายครั้ง อาจต่อเนื่องหลายเดือน

        ไมเกรน มักปวดตุ๊บๆ เริ่มต้นที่ขมับหรือตาข้างหนึ่ง จากนั้นลามไปทั้งซีก หรือ 2 ข้าง มักมีคลื่นไส้ อาเจียน แพ้แสงจ้า ร่วมด้วย อาจมีสัญญาณเตือนล่วงหน้า เช่น เห็นแสงสว่างวาบๆ หรือเห็นเป็นคลื่น มีอาการเจ็บแปลบ ตาพร่า เวียนศีรษะ และมีเสียงก้องในหู เหงื่อออก หนาว อ่อนเพลีย ใบหน้าบวม โกรธฉุนเฉียวง่าย ทนเสียงดังหรือแสงจ้าวูบวาบไม่ได้ การปวดศีรษะระหว่างตั้งครรภ์ กว่า 90% เป็นแบบมีความตึงเครียด (Tension) หรือ ไมเกรน

อาการปวดศีรษะที่ควรพบแพทย์

มีอาการปวด หลังจากศีรษะกระทบกระแทกของแข็ง แล้วมีอาการตาพร่ามัว หรืออาเจียน ในเวลาต่อมา เป็นพร้อมไข้ คอแข็งเกร็ง สับสน พูดตะกุกตะกัก แขนขาอ่อนแรง ชาริมฝีปาก ลิ้น หน้า พูดจาตะกุกตะกัก อาเจียน วิงเวียน อ่อนแรง

สาเหตุ ไมเกรนอยู่ในประเภทที่มีอาการปวดศีรษะ โดยไม่พบพยาธิสภาพ แต่ก็มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ พอสรุปได้ว่าไมเกรนน่าจะเกิดจากความผิดปกติของก้านสมองคอร์เท็กซ์ ซึ่งเกี่ยวกับการเพิ่มของแคลเซียม กลูตาเมท และการลดลงของแมกนีเซียม การกระตุ้นเส้นประสาทสมองที่ 5 (Trigeminal Nerve) หรือหลอดเลือด การทำงานที่ผิดปกติของก้านสมองและส่วนกลาง รวมถึงเยื่อหุ้มสมอง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลถ่ายทอดทางพันธุกรรม มีประวัติไมเกรนในครอบครัว 90% เกิดจากความเครียด เซลล์ในสมองเป็นผู้หลั่งสารระงับอาการปวด gamma–aminobutyric acid–GABA หากเซลล์สมองเสื่อมสภาพบกพร่องในหน้าที่ ย่อมทำให้อาการปวดกำเริบ การมีโรคของหลอดเลือดในสมอง บริเวณ thalamus ส่วนหลัง ครึ่งซีกของด้านตรงข้ามรอยโรค ก่อให้เกิดลักษณะปวดเป็นพักๆ ที่เรียก thalamic pain ผลจากการขยายและหดตัวผิดปกติของหลอดเลือด หลอดเลือดในสมองมีการหดเกร็ง และขยายตัวอย่างรวดเร็ว ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมองที่เรียกซีโรโทนิน ซึ่งหากลดลงมีผลให้ปวดมากขึ้น โครงสร้างที่ไวต่อความรู้สึกเจ็บปวด ได้แก่ ในส่วนของสมอง หลอดเลือด เส้นประสาท สมองคู่ที่ 5, 7, 9, 10 ตลอดจน C2 และ C3 รวมไปถึงโครงสร้างภายนอกโพรงกระโหลกศีรษะ ได้แก่ ผิวหนัง หนังศีรษะ ตา หู ไซนัส ช่องปาก ฟัน ลำคอ กล้ามเนื้อ พังผืด (fascia) หัวใจขาดเลือด ก็เป็นเหตุให้เกิดปวดศีรษะได้

สาเหตุร่วม เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ความเครียด ระดับฮอร์โมนเปลี่ยน เช่น ช่วงใกล้มีประจำเดือน หมดประจำเดือน ตั้งครรภ์ ใช้ยาคุม อากาศเปลี่ยน อุณหภูมิ แสงส่องจ้า กลิ่นรุนแรง ควันไฟ ควันบุหรี่ ซึมเศร้า อดนอน ยาบางชนิด อาการขาดคาเฟอีน

การรักษา ขณะปวดรุนแรง สารเสริมอาหารมักช่วยได้น้อยมาก ต้องใช้ยาระงับปวดโดยแพทย์ ยาที่ออกฤทธิ์จำเพาะต่อไมเกรนได้แก่ ยาในกลุ่มเออร์กอท (ergot) หรือ ทริพแทน (triptan) แต่ไม่ควรใช้ร่วมกัน ห้ามใช้ในโรคความดันสูงที่ยังควบคุมไม่ได้ มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือสมอง โรคตับ ไต ภาวะติดเชื้อ เออร์กอทยังห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หรือหญิงให้นมบุตร การกินยาแอสไพริน หรือยาระงับปวดต่างๆ จะบั่นทอน แทรกแซง ความสามารถในการต่อสู้กับความเจ็บปวดตามธรรมชาติของร่างกาย อาจทำให้อาการปวดศีรษะถี่ขึ้น และรุนแรงขึ้น อีกทั้งมีโอกาสติดยาได้ การกดจุด ฝังเข็ม โดยผู้ชำนาญก็เป็นการแพทย์ทางเลือก ที่อาจช่วยได้

        สิ่งที่ควรแยกออกไปก่อนวินิจฉัยว่าเป็นไมเกรน ได้แก่โรคที่มีพยาธิสภาพ เช่น โรคความดันสูง, ลมชัก, ไซนัสอักเสบ, ไข้สูง, ฝีในสมอง เป็นต้น โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อายุเกิน 55 ปี เนื่องจากไมเกรนมักเกิดในคนอายุน้อยกว่า ผู้ที่ปวดเฉียบพลันทันที หรือเป็นต่อเนื่องเรื้อรัง ก็ควรตรวจหาสาเหตุอื่นเพิ่มเติม

แมกนีเซียม เป็นสารสำคัญที่ขาดไม่ได้ หากเกิดการขาดแมกนีเซียม หรือวิตามินบี6 ทำให้การสร้างซีโรโทนินขาดไป ส่งผลให้หลอดเลือดขยายตัว ไปกระตุ้นเซลล์ประสาททำให้ปวด มีการศึกษาบ่งชี้ว่า แมกนีเซียมอาจช่วยป้องกันไมเกรนได้ดี ขนาดที่แนะนำคือ 6 mg/kg/dแนวทางพึ่งตนเอง เพื่อลด เลี่ยงการใช้ยา อาหารที่มีแมกนีเซียมสูง เช่น ถั่วต่างๆ ผักใบเขียว ธัญพืช

แคลเซียม 1000 mg/d ก็พบว่าช่วยลดอาการปวดหัวไมเกรนในหญิงวัยหมดประจำเดือนได้ดี

B2 (Riboflavin) เมื่อร่างกายขาดจะทำให้เสียการปลดปล่อยพลังงานสำรอง จากคาร์โบไฮเดรต พบว่าการเสริม บี2 ขนาด 400 mg/d เป็นเวลา 3 เดือน ช่วยลดความถี่ของระยะเวลาการปวดไมเกรนได้

B3 (Niacin) ก็มีรายงานผลช่วยลดอาการปวดไมเกรน มักให้ร่วมกับแมกนีเซียม โดยใช้ บี3 ขนาดวันละ 50 mgx3

B5 (Pantothenic acid) และวิตามินซี ช่วยเสริมการผลิตฮอร์โมนต้านความเครียด (Catecholamine) ซึ่งในภาวะเครียดมีการใช้วิตามินซี และบี5 มาก

B6 เป็นสารจำเป็นต้องใช้สร้างซีโรโทนินร่วมกับแมกนีเซียม ดังกล่าวแล้ว การเสริมช่วงก่อนมี รอบเดือน 5 – 10 วัน พบว่าช่วยเพิ่ม ซีโรโทนิน ช่วยลดอาการปวด

การขาด Folic ก็ก่อให้เกิดอาการปวดไมเกรนได้

ธาตุเหล็ก นั้น หากขาดไปก็ปวดหัวได้

น้ำมันปลา n3 ลดความรุนแรงและความถี่ของการปวดได้ หากขาดทำให้เสียความยืดหยุ่นของผนังหลอดเลือด ซึ่งเป็นที่มาของการหดเกร็ง ปวดนั่นเอง

โคคิวเทน มีงานวิจัยจาก Cleavland Headache Center ในสหรัฐ พบว่าการเสริม โคคิวเทน 150 mg/d ช่วยลดความถี่ของไมเกรน งานวิจัยในสวิทเซอร์แลนด์ก็ได้ผลเช่นเดียวกัน ในการให้โคคิวเทน 100 mg วันละ 3 ครั้ง

ทริปโตแฟน เป็นสารอาหารที่ช่วยเพิ่มระดับซีโรโทนินในสมอง serotonin เป็นสารสื่อประสาทสมอง อาหาร คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ช่วยเพิ่มการดูดซึมทริปโตแฟนได้

เก๊กฮวย งานวิจัยพบว่า สารสกัดจากใบเก๊กฮวยแห้ง 125 mg/d ช่วยได้

น้ำข้าวกล้องงอกซึ่งมี GABA สูง ก็น่าจะบรรเทาอาการ (จมูกข้าวสาลี ก็นำมาเป็นทางเลือกเบื้องต้นที่ดี)

หากยังคลื่นไส้ก็ใช้ขิง (ช่วยทำให้ท้องไส้สบายขึ้น)

กลิ่นคาโมมาย ช่วยคลายเครียด บำรุงประสาท บรรเทาปวด

สมาธิบำบัด ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และอารมณ์ช่วยคลายเครียด การสูดหายใจเข้าลึกๆ เป็นการเพิ่มปริมาณ ออกซิเจน นอกเหนือจากได้ภาวะสงบขณะสูดหายใจ ร่วมกับการประคบอุ่นบริเวณคอ และศีรษะ

ในยุโรป พบว่าสมุนไพร Feverfew และสารสกัดจากรากของ Butterbur (Petasites hybridus หรือ Petasites rhizoma) ก็ช่วยป้องกันไมเกรนได้

ผู้ป่วยไมเกรนควรดื่มน้ำมากๆ ขนาด 30 cc/kg/d (โดยเฉพาะน้ำที่มีส่วนผสมของแมกนีเซียม) และออกกำลังกายพอเหมาะอย่างสม่ำเสมอ

ชีวโมเลกุลเซลล์สมอง ต่อมไพเนียล หัวใจและหลอดเลือด ตลอดจนการใช้ ENT (Electroneural Diagnosis and Therapy) ช่วยวินิจฉัยรักษา น่าจะมีบทบาทสำคัญในการร่วมซ่อมแซมเซลล์สมอง

ค้นหาสิ่งกระตุ้น เช่น อาหารเครื่องดื่มบางชนิด โดยเฉพาะที่มีสารประกอบ amine ไทรามีน (Tyramine) เช่น เนยแข็ง หอมหัวใหญ่ ของหมักดอง ถั่วต่างๆ เนื้อย่าง รมควัน ไวน์แดง เบียร์ ครีมเปรี้ยว ขนมอบซึ่งมียีสต์ผสม ไส้กรอก กล้วยสุก โดยสารไทรามีน ไปลดระดับซีโรโทนิน แทนนิน พบในน้ำแอปเปิ้ล ชา กาแฟ ไวน์ ช็อคโกแลต แต่ไม่มีข้อมูลยืนยันที่ชัดเจน ผลไม้พวกส้ม มะนาว มะเขือเทศ ไข่ คาเฟอีน การศึกษาระยะหลังๆ ระบุว่าช็อคโกแลต ไม่เกี่ยว

        ยังมีสารเจือปนในอาหารที่ควรเลี่ยง เป็นการสังเกตเฉพาะราย เช่น ดินประสิว ไนไทรต์ ผสมในเบคอน ฮอทดอก เนื้อหมัก ไส้กรอก แฮม อาหารรมควัน ขนมปังใส่ยีสต์ ซุปก้อน ซีอิ๊ว ปลาหมัก ถั่วปากอ้า เมล็ดถั่วลันเตา ซัลไฟด์ เป็นสารที่ใช้หมักไวน์ + ผลไม้แห้ง โมโนโซเดียมกลูตาเมต (ผงชูรส) ซึ่งอาจพบในขนมถุงทั้งหลาย น้ำตาลเทียม Aspartam ก็อยู่ในข่ายต้องสงสัย

 

* สรุป หนทางช่วยตนเองเบื้องต้น

1. ดื่มน้ำที่มีส่วนผสมของแมกนีเซียมสม่ำเสมอ

2. น้ำมันปลา 1x3 (ระวังการใช้ร่วมกับแอสไพริน ไอบิวโปรเฟน หรือยาละลายลิ่มเลือดอื่นๆ)

3. โคลีน วิตามินบีรวม วันละ 1x2 เม็ด หากไม่ดีขึ้นจึงหาซื้อวิตมินบี3 (ไนอาซิน) ขนาด 50 มก. วันละ 3 เวลา

4. โคคิวเทน 2x3 ในช่วงที่มีอาการ

5. ออกกำลังกาย และสมาธิบำบัด สูดหายใจเข้าลึกๆ

6. ใช้จูมกข้าวสาลี โรยอาหาร

7. เซลล์สมอง + หมวกไต + ไพเนียล + หัวใจ อย่างละ 1x2 และอวัยวะรวม 1x1 เป็นเวลา 10 วัน หากสังเกตว่าไม่มีอาการเปลี่ยนแปลงก็เลิกใช้ แต่ถ้าอาการดีขึ้นอาจทานต่อให้ครบ 30 วัน แล้วแต่กำลังทรัพย์

หมายเหตุ : เพื่อเป็นการประหยัดแนะนำให้ใช้ตามข้อ 1 – 6 ก่อน หากไม่ได้ผลจึงเพิ่มรายการที่ 7 เป็นเวลา 10 – 30 วันตามอัตภาพ

EasyCookieInfo