ตะกร้าสินค้า

ไม่พบสินค้าในรถเข็น

มะเร็ง

สัญญาณเตือนภัยมะเร็ง

ให้เรตสมาชิก: 0 / 5

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

อาการส่อมะเร็ง อาการในช่วงแรกๆ อาจคลำได้ก้อน มีแผลเรื้อรังขยายตัว ปวดค้างคา ปวดในช่องท้องหรือมึนศีรษะ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน กระดูกหักง่าย ที่เป็นมากแล้ว มักมาด้วยการกลืนลำบาก ถ่ายเป็นเลือด ไอเป็นเลือด หรือปัสสาวะเป็นเลือด

ภาวะเลือดเป็นกรดนี้ อาจตรวจได้ด้วยวิธีง่ายๆ คือ ใช้กระดาษลิตมัสแตะน้ำลาย หากกระดาษเปลี่ยนเป็นสีเหลือง บ่งบอกว่าน้ำลายเป็นกรด ซึ่งมักสืบเนื่องจากเลือดมี pH กรด

การพบแคลเซียมสูงในเลือด เม็ดเลือดขาวต่ำส่อภาวะกรดในกระแสเลือด มีแนวโน้มการเป็นมะเร็ง เนื่องจากมะเร็งส่วนใหญ่มากับภาวะกรด

สัญญาณเตือนภัยมะเร็ง

  1. มีบาดแผลแล้วหายยาก
  2. อ่อนเพลีย กลิ่นปาก ท้องผูก แน่นอืดเฟ้อ กลืนลำบาก ถ่ายดำ ปัสสาวะเป็นเลือด
  3. คลำได้ก้อนบริเวณเต้านม หรือต่อมน้ำเหลือง
  4. เลือดกำเดาไหล หูอื้อตลอดเวลา
  5. ไอเรื้อรัง เสียงแหบแห้ง
  6. ตกขาว เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด กลิ่นเหม็น
  7. หูดหรือไฝเปลี่ยนแปลงผิดปกติ มะเร็งระยะเริ่มแรกนั้น

หายขาดได้ 80%

สารส่อมะเร็ง – Tumor marker

Tumor marker คือ สารผิดปกติที่ร่างกายปลดปล่อยออกมาจากอวัยวะที่ถูกมะเร็งโจมตี เช่น กรณีต่อมลูกหมาก Tumor marker คือ PSA (Prostate Specific Antigen) ที่ออกจากต่อมลูกหมาก มีค่าปกติ 0 – 4 นาโนกรัม หากพบสูงกว่านี้บ่งชี้ว่าสมควรตรวจละเอียดขั้นต่อไป

  • หากสงสัยว่ามีแนวโน้มจะเป็นมะเร็งตับ ก็ตรวจหา AFP (alpha feto protein)
  • ถ้าสงสัยมะเร็งเต้านม ก็ตรวจหา Tumor marker ที่ชื่อ “CA153”

ผู้ที่มีประวัติเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ (เช่นมีญาติเป็นแล้ว) ก็ควรตรวจหา Tumor marker ของมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่มีชื่อว่า CEA (Carcinoembryonic antigen) โดยพบว่าผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ จะพบ CEA ได้ถึง 70% เป็นต้น มิใช่เริ่มด้วยการตรวจ PET / CT scan ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายสูง (60,000 – 80,000 บาท) แล้วยังคลำเป้าไม่ได้

การตรวจหา GSTM1 ค้นหาความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเฉพาะบุคคลนั้น ค่าใช้จ่ายแค่หลักพัน โดยมักตรวจจากเม็ดเลือดขาวในเลือด ใช้เวลาราว 6 ชั่วโมงรู้ผล การตรวจ Tumor marker ก็แค่หลักร้อย – พัน หากมีเป้าหมายว่าควรกลัวมะเร็งของอวัยวะใดของผู้นั้น

การตรวจหามะเร็ง

PED scan จากหลักการที่พบว่า มะเร็งชอบกินน้ำตาลมาก ยิ่งได้น้ำตาลสูงจะแบ่งตัวได้เร็วกว่าเซลล์ปกติถึง 200 เท่า โดยใช้น้ำตาลมาก 17 เท่า ของเซลล์ปกติ จึงใช้กลูโคสกัมมันตรังสี ฉีดเข้าหลอดเลือด แล้วสแกนว่าที่ใดมีการใช้น้ำตาลสูง ก็คือมีเซลล์มะเร็งอยู่มาก

เซลล์มะเร็งที่แบ่งตัวมาก จะมีการขับถ่ายของเสียออกมา เป็นสารพิษต่อร่างกาย ทำให้เนื้อเยื่ออวัยวะใกล้เคียงถูกพิษขาดประสิทธิภาพการทำงาน เกิดอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ จิตใจหดหู่ซึมเศร้า ก็เพราะเซลล์ไม่ทำงานนั่นเอง

PET scan (Positron emission tomography) เป็นเครื่องสแกนที่สามารถบอกความแตกต่างระหว่างเนื้องอกที่ไม่อันตรายกับเนื้อร้ายได้ โดยไม่ต้องตัดชิ้นเนื้อ โดยให้ภาพบ่งว่ามะเร็งกระจายตัวไปมากน้อยเพียงไร

CT scan (Computed tomography scan หรือ CAT scan) บอกถึงโครงร่างและตำแหน่งโรคอย่างคร่าวๆ เป็นเทคโนโลยีที่ใช้รังสีเอกซ์ผ่านเข้าไปในร่างกาย ถ่ายภาพออกมาแบบสามมิติ

MRI (Magnetic Resonance Imaging) ใช้สนามแม่เหล็กผสานกับคลื่นวิทยุ จับภาพตำแหน่ง ขนาดก้อนเนื้อผิดปกติ มักใช้วินิจฉัยเกี่ยวกับสมอง กระดูกสันหลัง และข้อต่อ ตับ ปอด ตับอ่อน ม้าม และไต ให้ความไวสูงกว่า CT scan

EasyCookieInfo