ตะกร้าสินค้า

ไม่พบสินค้าในรถเข็น

ตับ

ให้เรตสมาชิก: 0 / 5

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

ตับมีหน้าที่มากมาย ตั้งแต่เผาผลาญสารอาหารในร่างกาย สร้างกลัยโคเจน เก็บ ควบคุม กระบวนการใช้คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน การสร้างเอนไซม์ในกระบวนการชีวเคมีต่างๆ สร้างเกลือน้ำดี ย่อยไขมัน และทำลายไขมันเลว LDL+VLDL และคอเลสเตอรอลด้วยการสร้างคอเลสเตอรอลออกมากับน้ำดี

ตับช่วยขับสารพิษ ด้วยขบวนการออกซิเดชั่นรีดักชั่น สร้างยูเรียให้ขับออกทางปัสสาวะ

ตับยังเป็นแหล่งสะสมของวิตามินเอ และบี12 ด้วย

น้ำดีที่สร้างมี pH 7.8 – 8.0 ส่วนในถุงน้ำดี pH 7.0 – 7.4 น้ำดีประกอบด้วยกรดน้ำดี (bile acid) น้ำ 97% อิเลคโตรลัยท์ซึ่งได้แก่ โซเดียม โปแตสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม คลอไรด์ และไบคาร์บอเนต และส่วนที่เป็นของแข็งได้แก่ เกลือน้ำดี บิลิรูบิน คอเลสเตอรอล ฟอสโฟลิปิด ไขมัน โปรตีน และแอลคาไลน์ ฟอสฟาเทส เป็นต้น สารเหล่านี้เกิดจากการแปรสภาพคอเลสเตอรอล แล้วขับออกทางท่อน้ำดี มาเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี เมื่อมีอาหาร น้ำดีจากถุงเก็บจะหลั่งไปที่ลำไส้เล็กส่วนต้น เพื่อย่อยละลายสารอาหารที่เป็นไขมัน แล้วกรดน้ำดีที่เหลือจึงถูกดูดซึมกลับเข้าตับผ่าน portal vein

ในน้ำดีจะไม่มีน้ำย่อยอาหาร (enzyme) น้ำดี เป็นกลไกช่วยให้เอนไซม์ไลเปส จากตับอ่อนสามารถช่วยย่อยไขมันได้สะดวก

การประยุกต์ใช้ความรู้นี้ เช่น ผลของการปล่อยให้คอเลสเตอรอลสูงเรื้อรัง เป็นเหตุให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดี การจะลดคอเลสเตอรอลได้ดี ตับต้องแข็งแรง มีโคลีน หรือเลซิทินพร้อมใช้ การทำงานของเลซิทิน ต้องมีแมกนีเซียม และบี6 เป็นปัจจัยสำคัญการหลั่งคอเลสเตอรอลมากับน้ำดีเป็นวิธีหลักของการกำจัดคอเลสเตอรอล เนื่องจากคอเลสเตอรอลละลายน้ำได้ยาก จึงละลายเข้าไปอยู่ในไมเซลล์ ของกรดน้ำดีและเลซิทิน การมีเลซิทินประกอบอยู่ในไมเซลล์จะทำให้คอเลสเตอรอลละลายในไมเซลล์ดีขึ้น หากมีคอเลสเตอรอลเหลืออยู่ข้างนอกไมเซลล์มาก จะเกิดการตกผลึกของคอเลสเตอรอลในน้ำดี ผลึกดังกล่าวมีบทบาทสำคัญต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี 

ส่วนโรคกรดไหลย้อน เกิดจากอาหารโดยเฉพาะไขมันไม่ย่อย ไขมันจะย่อยได้ต้องมีเอนไซม์ไลเปสโรคหัวใจและหลอดเลือดจึงเกี่ยวโยงกับสภาวะเสื่อมของตับ 

การลดความอ้วน ก็ต้องอาศัยประสิทธิภาพเผาผลาญ การสร้าง การใช้กลัยโคเจนในตับ การกระตุ้นการสร้างอินซูลินของตับอ่อน ดังนั้นหากตับไม่ดี ความอ้วนก็มาเยือน (พอตับเสียมากๆ จึงผอมลง)เอนไซม์ไลเปส สร้างจากตับอ่อน และยังต้องเสริมด้วยน้ำดีจากตับ ดังนั้น การจะพ้นจากภาวะกรดไหลย้อน คือตับอ่อน และตับต้องทำหน้าที่ได้สมบูรณ์แข็งแรง 

โรคทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของเอนไซม์ จึงเกี่ยวโยงไปถึงความผิดปกติ ไม่สมดุลของตับได้ เช่น เอนไซม์ โทไรซีเนส (ฝ้า), แซนทีนออกซิเดส (เก๊าท์), อเซทิลโคลีนเอสเทอเรส (ไมแอสทีเนียแกรวิส, สมองเสื่อม, พาร์กินสัน

ตับอักเสบทุกชนิดทำให้กระบวนการเคมีเกี่ยวกับโปรตีน คาร์โบไฮเดรตและไขมันบกพร่อง ผลิตน้ำดีย่อยอาหารไขมันลดลง กำจัดสารพิษ และขับถ่ายของเสียน้อยลง 

งานวิจัยพบว่าผู้ป่วยโรคตับมักมีสารต้านอนุมูลอิสระในระดับต่ำ โรคเกี่ยวกับตับที่พบบ่อย คือ ตับอักเสบเฉียบพลัน (Acute hepatitis) และตับแข็ง (Cirrhosis) 

สาเหตุ ของตับอักเสบ ส่วนใหญ่คือ เชื้อไวรัส ซึ่งมีหลายชนิด ที่พบบ่อย คือ ไวรัสตับอักเสบเอ และบี นอกจากนี้ก็อาจเกิดได้จากพิษสุรา ยา สารพิษ เช่น เห็ด 

ส่วนตับแข็ง หรือตับพิการ มักเป็นผลของตับอักเสบเรื้อรังจากพิษสุรา ติดเชื้อไวรัส พยาธิใบไม้ นิ่วในท่อน้ำดี หรือได้รับสารพิษ 

พบว่าเชื้อไวรัสตับอักเสบมี 6 ชนิด เป็นอย่างน้อย ตั้งชื่อตามอักษร คือ เอ บี ซี ดี อี และจี โดยพบว่าชนิด เอ พบบ่อยที่สุด ติดต่อง่าย อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ และไม่ส่งผลร้ายต่อตับในระยะยาว 

ตับอักเสบบี และซี ทำให้เกิดโรคเรื้อรังนานหลายปี อาจเกิดตับแข็ง หรือมะเร็งตับแทรกซ้อน ตัวที่พบมากในแถบเอเซียและไทย คือ ไวรัสตับอักเสบบี ส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อตั้งแต่แรกเกิด โดยได้รับจากมารดาเป็นส่วนใหญ่ ไวรัสนี้ยังอาจมาร่วมกับเชื้อ HIV (เอดส์) ด้วย เช่น ทางเข็มฉีดยา เพศสัมพันธ์ ของมีคมที่ใช้ร่วมกับผู้ติดเชื้อ โดย 95% ของผู้ติดเชื้อ HBV จะหายได้เอง อีก 5% นำไปสู่โรคตับแข็ง หรือมะเร็งตับได้ ส่วนชนิดดี อี และจี พบได้น้อยมาก

อาการของตับอักเสบ ได้แก่ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ตาและตัวเหลือง อาจเจ็บบริเวณใต้ชายโครงขวาเล็กน้อย หรือมีไข้ต่ำๆ 

อาการแรกที่บ่งว่าตับถูกทำลาย คือท้องอืด อ่อนเปลี้ยเพลียแรง เกิดไขมันเกาะตับ หนักเข้าจึงเป็นแบบพุงโตขึ้น แต่ไม่ใช่อ้วนลงพุง

ส่วนตับแข็ง หรือตับพิการ เป็นโรคตับระยะสุดท้ายที่เกิดจากโรคตับหลายต่อหลายโรค ซึ่งแรกๆ ไม่แสดงอาการก็ได้ หรือน็น็รน็รรกาากากาหากหาดกกากากาากาามีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ตาเหลือง เช่นกัน และอาจผอมลง แก้มตอบ ผิวคล้ำปนเหลือง บวม แบบกดบุ๋มที่ขา ท้องมานน้ำ เล็บซีดขาว ขนรักแร้ และหัวหน่าวบางลง อาจพบรอยแดงๆ ที่ฝ่ามือ บริเวณเนินใต้หัวแม่มือ และใต้นิ้วก้อย จุดแดงๆ บนหน้าอก หลัง แก้ม และแขน 

ตับอักเสบเรื้อรัง มีอันตรายมากที่สุด เนื่องจากทำให้เกิดภาวะตับวายได้ 

อาการที่ควรรีบไปโรงพยาบาล : ไข้ แขน ขา สั่นกระตุก ซึม หมดสติ คลุ้มคลั่ง เหนื่อย นอนราบไม่ได้ อาเจียนเป็นเลือด ดีซ่านมาก ไม่ปัสสาวะนานเกิน 6 ชม. 

 

มันจุกตับ…ไขมันเกาะตับ หรือไขมันพอกตับ

คืออะไร ชื่อว่า ไขมันพอกตับใช่ว่าจะมีไขมันพอกอยู่บนตับ หากแต่หมายถึง  การสังเคราะห์ไขมันในตับผิดปกติ ทำให้ไขมันโดยเฉพาะไตรกลีเซอไรด์ที่แทรกอยู่ในเซลล์ตับมีน้ำหนักเกิน 5% ของตับ ซึ่งจะทำให้ตับทำงานผิดปกติ ตับอักเสบ และอาจพัฒนาเป็นตับแข็งในที่สุด ไขมันพอกตับสามารถแบ่งความรุนแรงออกเป็น 3 ระยะ

  • ระยะแรก :  ไขมันที่แทรกอยู่ในเซลล์ตับมีน้ำหนักประมาณ 5 – 10% ของตับ
  • ระยะกลาง : ไขมันที่แทรกอยู่ในเซลล์ตับที่มีน้ำหนักประมาณ 10 – 25% ของตับ
  • ระยะรุนแรง : ไขมันที่แทรกอยู่ในเซลล์ตับที่มีน้ำหนักเกิน 30% ของตับ

ไขมันพอกตับส่วนใหญ่จะตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจสุขภาพประจำปีหรือตรวจอัลตร้าซาวด์เพื่อรักษาโรคอย่างอื่น ทั้งนี้ เนื่องจากผู้ป่วยไขมันพอกตับในระยะแรกหรือแม้กระทั่งพัฒนาเป็นตับอักเสบหรือตับแข็งแล้ว ส่วนใหญ่ก็ยังไม่แสดงอาการ

 

ไขมันพอกตับเกิดจากสาเหตุอะไร...

ไขมันพอกตับเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การดื่มสุรา การสังเคราะห์ไขมันของตับผิดปกติ โรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ตับอักเสบจากไวรัส การขาดสารอาหาร ผลข้างเคียงจากการใช้ยา การตั้งครรภ์ เป็นต้น ไขมันพอกตับใช่ว่าจะเป็นโรคที่เกิดขึ้นมาเดี่ยวๆ หากแต่เป็นผลพวงของโรคประจำตัวต่างๆ เช่น เบาหวาน ตับขาดสารอาหาร ตับอักเสบจากไวรัส เป็นต้น ผู้ป่วยไขมันพอกตับจึงมักอยู่คู่กับโรคเรื้อรังหลายอย่าง เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจตีบ เก๊าท์ นิ่วในถุงน้ำดี เป็นต้น ไขมันพอกตับนอกจากไปเพิ่มความรุนแรงของโรคเรื้อรังเหล่านี้แล้ว ยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผลการรักษาของโรคเรื้อรังเหล่านี้ไม่ดีเท่าที่ควรและยากต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของตับให้กลับสู่ภาวะปกติ อาจกลายเป็นตับแข็งในที่สุด

หากไขมันพอกตับไม่มีการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้ ตับอักเสบและกลายเป็นตับแข็งในที่สุด

 

การวินิจฉัยทำได้อย่างไร…

ส่วนใหญ่พบโดยบังเอิญเจาะเลือดตรวจการทำงานของตับพบว่ามีค่า SGPT, SGOT สูงโดยที่ค่าอื่นปกติ และเจาะเลือดตรวจไม่พบหลักฐานการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ หรือมีประวัติการดื่มสุรา ประวัติการใช้ยาอย่างต่อเนื่องของยา กลุ่ม prednisone, amiodarone (Cordarone), tamoxifen (Nolvadex), methotrexate (Rheumatrex, Trexall), and nonsteroidal anti–inflammatory drugs (NSAIDS) การตรวจ ultrasound ก็จะช่วยในการวินิจฉัย

สรุปการวินิจฉัยไขมันเกาะตับต้องประกอบไปด้วย

  1. มีอาการหรืออาการแสดงว่าเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน เช่น อ้วนโดยมีดัชนีมวลกายมากกว่า 25, รอบเอวมากกว่า 36 นิ้ว ในชาย 32 นิ้ว ในหญิง, triglyceride >150 mg%, ความดันโลหิตสูง
  2. การตรวจตับพบว่าค่า SGOT, SGPT สูง
  3. ตรวจ ultrasound พบลักษณะเหมือนตับแข็ง
  4. ต้องแยกโรคอื่น เช่น ตับอักเสบบี สุรา ยา
  5. การเจาะตับเพื่อการวินิจฉัยยังไม่เป็นที่ตกลงว่าสมควรจะทำเมื่อใดเพราะการรักษายังไม่มียาเฉพาะ

ยาลดไขมันในเลือดสูงส่งผลกระทบต่อไขมันพอกตับอย่างไร...

คอเลสเตอรอลในร่างกายคนเรา 80% ขึ้นไปสังเคราะห์จากตับ การใช้ยาแผนปัจจุบันเพื่อลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดเป็นประจำจะไปกดการทำงานของตับไม่ให้ปล่อยคอเลสเตอรอลเข้าไปในกระแสเลือด ทำให้ตับสำลักไขมันจนเกิดไขมันพอกตับได้

 

ความรู้สู้โรคตับ

หากพบเชื้อหรือ ไข่พยาธิในอุจจาระ ก็ถ่ายพยาธิ ให้ยาฆ่าเชื้อ งดดื่มสุรา และยาที่เป็นพิษต่อตับ พักผ่อน ตลอดจนฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ

ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบชนิด เอ และบี ผู้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ สามารถขอรับวัคซีนจากแพทย์ได้

ควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 1 เดือนแรก หลังเป็นตับอักเสบเฉียบพลัน จนกว่าผลยืนยันว่าการทำงานของตับเข้าสู่ปกติ

ยารักษาโรคเกือบทุกชนิดเป็นพิษต่อตับ การใช้เป็นครั้งคราวก็เพื่อพิชิตโรคภัย นับเป็นการได้มากกว่าเสีย แต่หากใช้ยาพร่ำเพรื่อก็เป็นเหตุของโรคตับแข็ง นับว่าเสียมากกว่าได้

ยกตัวอย่าง ยาแก้ภูมิแพ้ที่ใช้จ่ายต่อเนื่องหลายปี ยาลดน้ำมูก ยาต้านฮิสตามีน ยารักษาเก๊าท์ แม้จะแก้ปวด ลดกรดยูริคได้ชะงัด แต่ตับก็ต้องทำงานหนัก

ตลอดจนขัดขวางระบบเอนไซม์ของตับ ขัดขวางการสังเคราะห์สารสำคัญ

ยาลดไขมัน (statin) ไปหยุดการสร้างคอเลสเตอรอลของตับ ทำให้ขาดทั้งน้ำดี ทั้งโคคิวเทน

การใช้ยาลดไข้ ไม่ว่าแอสไพริน หรือพาราเซตามอล ล้วนมีผลเสียต่อตับ ดังนั้นวิธีลดไข้เบื้องต้นที่สมควรกระทำคือ พยายามดื่มน้ำครึ่งแก้วทุกหนึ่งชั่วโมง เพื่อให้ปัสสาวะพาความร้อนออกจากร่างกาย ดีกว่าทานยาลดไข้ทุก 4 – 6 ชั่วโมง

การแพทย์ชีวโมเลกุล จึงเป็นหนทางแห่งความหวัง ก่อนถึงขั้นตอนการผ่าตัดเปลี่ยนตับ โดยพบว่าเซลล์ตับของสัตว์ก็สามารถไปซ่อมแซมตับของคนได้ (อ่านรายละเอียดในเรื่องการแพทย์ชีวโมเลกุล) ซึ่งสามารถวัดผลได้จากค่าการทำงานของตับ ก่อนหลังการใช้ โดยเริ่มจากเซลล์ตับ 1x3 กับอวัยวะรวม 1x1 เป็นเวลา 10 – 30 วันการแพทย์แผนปัจจุบันถือว่าตับแข็งไม่สามารถฟื้นคืนสภาพเดิมได้ มีแต่จะเพิ่มขึ้นช้าหรือเร็วเท่านั้น จึงรักษาแบบประคับประคอง เช่น ทานอาหารให้ครบหมู่ เลี่ยงโปรตีน (ทานพอสมควร) โดยเฉพาะในภาวะที่มีไข้ ปวดหัวตัวร้อน สับสนมึนงง ทานผักผลไม้มากๆ เพื่อเลี่ยงภาวะท้องผูก เลี่ยงเกลือ ของเค็มทุกชนิด และแอลกอฮอล์ มาตรการสุดท้าย คือ การเปลี่ยนตับ ซึ่งดูเหมือนเป็นวิธีเดียว

เมื่อตับเข้าสู่สภาวะที่ดีขึ้นจึงบำรุงด้วยสารอาหารต่างๆ ต่อไป

ในแนวธรรมชาติบำบัด แนะนำให้ใช้วิตามินซี และอี ร่วมกันระยะยาว สารอาหารที่ควรเพิ่มคือ โคลีนบี กระเทียม กลูต้าไทโอน แร่ธาตุสังกะสี เพื่อป้องกันตับถูกทำลายจากอนุมูลอิสระ  โดยเฉพาะกรดอัลฟาไลโปอิค เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยเสริมฤทธิ์ของวิตามินทั้งสอง ขนาดที่แนะนำคือ 200 มก.x3/วัน

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค และการออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อลดการใช้ยาเป็นอีกวิธีสำคัญวิธีหนึ่งในการป้องกันและบรรเทาภาวะไขมันพอกตับได้

 

การแปลผลเกี่ยวกับตับ

วิธีสังเกตสภาวะของตับง่ายๆ วิธีหนึ่งคือ ดูสีอุจจาระของตนเอง ปกติจะมีสีน้ำตาล จากปฏิกิริยาของน้ำดีที่ปล่อยเข้าสู่สำไส้เล็ก หากขาดน้ำดี อาจจากการที่ตับไม่สร้าง   ซึ่งหมายถึงขับคอเลสเตอรอล ออกมากับน้ำดีได้ไม่ดี หรือท่อน้ำดีอุดตัน นิ่วในท่อน้ำดี อุจจาระจะมีสีซีด

อุจจาระใหม่ที่มีกากใยไม่ตกค้างมักออกเป็นสายยาวต่อเนื่องกัน และลอยน้ำ หากออกเป็นก้อนๆ เม็ดกระสุนแปลว่าท้องผูกมาก ถูกดูดน้ำออกไปใช้ซ้ำ คือดูดพิษตกค้าง เน่าเสียออกไปด้วย (ดูดเข้าสู่ร่างกาย) อุจจาระที่จมน้ำแสดงว่าตกค้างอยู่ในลำไส้นาน หรือมีสารพิษของเสียปะปนอยู่มาก

Alkaline phosphatase (AP) เป็นเอนไซม์ที่ได้จากหลายแหล่ง คือ ตับ กระดูก ลำไส้ ไต รก เม็ดเลือดขาว และเนื้องอกหลายชนิด

ในโรคตับทั่วไปมักมีการเพิ่มของ AP แต่ไม่เกิน 3 เท่า หาก AP ขึ้นมากกว่า 3 เท่า ของระดับปกติ มักเป็นภาวะอุดกั้นทางเดินน้ำดี หรือ การติดเชื้อรุนแรง เช่น วัณโรคตับ มะเร็งแพร่กระจายเข้าตับ (ระดับปกติเป็นเท่าไร ดูจากวงเล็บข้างท้ายผลตรวจของสถาบันแต่ละแห่ง)

Aminotransferase ประกอบด้วย (aspatate A.(AST) กับ alanine A.(ALT))

การที่ค่า AST เพิ่มอาจมีผลมาจากการอักเสบทำลายเซลล์ตับ กล้ามเนื้อ ไต สมอง ตับอ่อน และเม็ดเลือดแดงก็ได้ ดังนั้นความจำเพาะต่อโรคตับจึงน้อยกว่า จึงต้องพิจารณาร่วมกับค่าของ ALT

หาก AST และ ALT สูงกว่าปกติควรคิดถึง ภาวะที่ไม่ใช่โรคตับ เช่น hemolysis (ภาวะแตกตัวของเม็ดเลือดแดง) ของกล้ามเนื้อ ไทรอยด์ การออกกำลังกายหนัก

อัตราส่วนของ AST/ALT ส่วนใหญ่จะ ≤ 1 เสมอ เช่น ภาวะตับอักเสบจากไวรัสหรือยา

AST/ALT > 1 พบในภาวะตับแข็งจากสาเหตุใดๆ ก็ตาม ซึ่งระดับมักจะไม่สูงมาก

AST/ALT > 2 พบในภาวะตับอักเสบจากพิษสุรา (alcoholic hepatitis)

สำหรับ nonalcoholic steatohepatitis (NASH) ซึ่งมีพยาธิสภาพเหมือน alcoholic hepatitis นั้น ถ้ายังไม่เป็นตับแข็ง AST/ALT ≤1 เสมอ

AST/ALT > 4 ทำให้คิดถึงภาวะตับอักเสบรุนแรงทั่วไป (fulminant hepatitis)จาก wilson’s disease มากขึ้น แต่ไม่สามารถวินิจฉัยได้แน่นอน

ใน alcoholic hepatitis และ biliary tract obstruction นั้นระดับ AST และ ALT จะ < 300 U/L

แต่หากถูกซ้ำเติมด้วยพิษยาพาราเซตามอล (acetaminophen poisoning) หรือไวรัสตับอักเสบ ระดับจะสูงมากกว่านี้ได้

ผู้ป่วยนิ่วในท่อน้ำดี ร่วมกับ ท่อน้ำดีอักเสบ (ascending cholangitis) อาจ > 1000 U/L

ภาวะที่เลือดมีสารประกอบไนโตรเจนโดยเฉพาะ ยูเรียมากเกินไป (azotemia) รวมถึงการทำ dialysis (ขบวนการแยกส่วนต่างๆ โดยใช้เยื่อกั้นให้ผ่านบางส่วน) นั้น อาจทำให้ค่า AST ออกมาต่ำกว่าปกติ

ระดับ AST และ ALT ไม่ได้บอกการพยากรณ์โรค เช่น สูงมากๆ อาจจะหายดีเป็นปกติ ในขณะที่ผู้ป่วยบางรายที่ระดับลดลงมาก แต่เหลืองขึ้น ซึม ตับเล็กลง และอัตราการแข็งตัวของเลือดช้าลง (prolonged prothrombin time) ควรคิดถึงภาวะตับล้มเหลวเฉียบพลัน (acute liver failure) ซึ่งมีพยากรณ์โรคที่ไม่ดี

การขึ้นและลดลงสู่ปกติอย่างรวดเร็วของ AST พบในภาวะตับอักเสบขาดเลือด ischemic hepatitis การได้รับสารพิษ (toxin) หรือนิ่วหลุดออกไปจากท่อน้ำดี

สำหรับโรคติดเชื้อไวรัส และพิษจากยา อาจใช้เวลาเป็นเดือนจึงเข้าสู่ระดับปกติได้

บางสถาบันจะแสดงเป็นค่า SGOT/PT แทนค่า AST/ALT

SGOT ย่อจาก Serum glutamic oxaloacetic transaminase  SGPT ย่อจาก Serum glutamic pyruvic transaminase  AST ย่อจาก Aspatate transaminase (7 – 37) = SGOT เดิม ALT ย่อจาก Alanine transaminase (7 – 40) = SGPT เดิม SH ย่อมาจาก Serum hepatitis/AP = Alkaline phosphatase DB ย่อมาจาก Direct bilirubin/TB = total bilirubin

ปกติจะใช้ค่า serum albumin, serum globulin และ prothrombin time ในเชิงวัดค่าการทำงานของตับ (Liver function test)

 

สรุปแนวทางสู้โรคตับ

  1. ใช้เซลล์ตับ 1x3 อวัยวะรวม 1x1 เป็นเวลา 10 – 30 วัน (บันทึกค่าการทำงานของตับ ก่อนหลังใช้)
  2. สารต้านอนุมูลอิสระแบบรวม (วิตามินซี โอพีซี กลูต้าไทโอน โคคิวเทน และกรดไลโปอิค) ร่วมกับหลินจือ โคลีนบี แร่ธาตุสังกะสี อย่างละ 1x2
  3. ทานผักผลไม้ (ปลอดสารพิษ) ดื่มน้ำมากๆ ออกกำลังกาย (พอเหมาะ) ควบคุมน้ำหนักให้เข้าสู่เกณฑ์ปกติ ทำสมาธิ นอนหลับพักผ่อน เลี่ยงสารพิษทั้งหลาย โดยเฉพาะสุรา