ต่อมไทรอยด์มีรูปร่างคล้ายปีกผีเสื้อ อยู่ตรงแถวหลอดลม มีหน้าที่หลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ ควบคุมอัตราเผาผลาญพลังงาน (Metabolism) ในร่างกาย หากมีมากไปก็เป็นพิษ น้อยไปก็ตรงข้ามคือ อ้วน ขี้เกียจ ขี้หนาว เฉื่อยชา เสียงแหบห้าว
ไทรอยด์เป็นพิษหรือ คอพอกเป็นพิษ หรือคอหอยพอกเป็นพิษ (Thyrotoxicosis, Hyperthyroidism) มักมีอาการ คอพอก เหนื่อยง่าย ใจสั่น วิตกกังวล ตกใจง่าย ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก ผมร่วง กินจุแต่ผอมลง ท่าทางลุกลี้ลุกลน นอนไม่หลับ อาจพบอาการตาโปน ในหญิงจะมีประจำเดือนน้อยลง หรือขาดไป ในเด็กที่ขาดฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ จะปัญญาอ่อน รูปร่างแคระแกรน ที่เรียก “โรคเอ๋อ” อาการอันตรายที่ต้องรีบพบแพทย์คือ เหนื่อยมากจนนอนราบไม่ได้ กระสับกระส่าย คลุ้มคลั่ง หรือ เซื่องซึม ปัสสาวะน้อย หรือมีไข้ ไม่ปัสสาวะมา 6 ชม.
การรักษาแผนปัจจุบัน
ช่วยรักษาอาการนี้ได้ดี แพทย์มักเลือกใช้ยา ประเภทไอโอดีน กัมมันตภาพรังสี หรือยาลดการทำงานของต่อมไทรอยด์ เช่น โพรพิลไธโอยูเรซิล, เมธิมาโซล, ทาปาโซล, โปรพาโนลอล (ขนานใดขนานหนึ่ง) ร่วมกับวิตามินบีรวม 1x3 เนื่องจากภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ร่างกายมีกระบวนการแปรธาตุสูง
ในภาวะเฉียบพลัน รุนแรง จำเป็นต้องรีบพบแพทย์ เพื่อสั่งใช้ยาต้านไทรอยด์ การรักษาแผนปัจจุบันตามแพทย์สั่ง ยังเป็นสิ่งจำเป็น ในขณะที่โภชนาการระดับเซลล์ ก็มีส่วนสำคัญตามหลัก การรักษาภูมิเพี้ยน ควรงดการออกกำลังกายหนักในช่วงแรกที่รักษา เลี่ยงชา กาแฟ แอลกอฮอล์ ยาลดอาการคัดจมูก และยาขยายหลอดลม เนื่องจากจะกระตุ้นหัวใจมาก
ส่วนกลุ่มที่ต่อมไทรอยด์ทำงานช้า หรือต่ำกว่าปกติ ส่วนหนึ่งเกิดจากความผิดปกติ ของการทำงานระบบภูมิคุ้มกันที่เรียกว่าต่อมไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโต้ (Hashimoto’s Thyroiditis) ซึ่งมีลักษณะภูมิคุ้มกันไปทำลายต่อมทำให้ผลิตฮอร์โมนน้อยลง การรักษาอาจใช้ ไอโอดีนสังเคราะห์ หรือสารสกัดจากไทรอยด์ของสัตว์
สาเหตุ
ไม่ทราบแน่ชัด ไทรอยด์เป็นพิษ เป็นโรคที่เข้าใจว่า สาเหตุหนึ่งน่าจะเกิดจากความกดดันของอนุมูลอิสระ ต่อต่อมไทรอยด์ จัดเป็นหนึ่งในกลุ่มอาการภูมิเพี้ยน เข้าใจว่า Oxidative stress ที่ได้รับต่อเนื่องมีผลต่อการปรับเปลี่ยนของต่อมไทรอยด์ ภูมิคุ้มกันอัตโนมัติที่ทำงานผิดปกติ ทำให้ฮอร์โมนไทรอยด์ถูกผลิตมากเกินไป ร่างกายมีความไวต่อระดับฮอร์โมนนี้มาก ไม่ว่าต่ำไปหรือสูงไป
สาเหตุอื่น เช่น เนื้องอก การอักเสบของต่อมไทรอยด์ โดยเฉพาะความเครียดในชีวิตประจำวัน ไทรอยด์เป็นต่อมหยินหยาง ผลิตพลังร้อน หากไม่ผลิตก็เฉี่อยชา หนาวเย็น
ความรู้เบื้องต้น
ลองสังเกตพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ที่อาจก่อภาวะร้อนในร่างกาย ตั้งแต่กินอาหารฤทธิ์ร้อนมากไป เช่น แป้ง น้ำตาล เนื้อสัตว์ ขนมหวาน ผลไม้หวานจัด ขิง ข่า สะระแหน่ ขมิ้น ตะไคร้ ใบกะเพรา พริก หอม กระเทียม อบเชย หรือทำตัวให้เกิดพิษร้อน ส่วนใหญ่ขาดน้ำเพราะดื่มไม่เป็น เช่น ทีเดียวทั้งแก้ว หรือดื่มน้ำมากในมื้ออาหาร ชอบดื่มน้ำเย็นจัด ขอแนะนำให้ปรับเป็นดื่มน้ำธรรมดา (ไม่ใส่น้ำแข็งหรือแช่เย็น) ครั้งละครึ่งแก้วทุก 1 – 2 ชม. ไม่ใช่รวดเดียว 2 – 3 แก้ว เฉลี่ยปริมาณน้ำไม่ควรเกินวันละ 30 มล./กก.น้ำหนักตัว
ดื่มน้ำมาก แต่ผิดหลัก ก็กลายเป็นฤทธิ์ร้อนได้ การรีดพิษร้อนออกด้วยการขูดแนวเส้นลมปราณ โดยแพทย์แผนโบราณ ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ปลอดภัย และควรมาก่อน ในภาวะเฉียบพลัน รุนแรง จำเป็นต้องรีบพบแพทย์ เพื่อสั่งใช้ยาต้านไทรอยด์
การดูแลพื้นฐานหรือ เลี่ยงสารพิษทั้งหลาย ตั้งแต่ บุหรี่ แอลกอฮอล์ ยาฆ่าแมลง ฯลฯ ใช้สารต้านอนุมูลอิสระเช่น โอพีซี ขนาดสูง (300 มก./วัน) ภาวะที่ร่างกายมีอัตราเผาผลาญสูง นอกจากวิตามินบีรวม แล้ว หัวใจที่ทำงานหนักในโรคนี้ อาจทำให้ขาดแมกนีเซียมและโคคิวเทนได้ง่าย โคเอนไซม์คิวเทน และแมกนีเซียม จึงเป็นสิ่งที่ร่างกายต้องการสูง เนื่องจากถูกใช้ไปมากกว่าปกติ (โคคิวเทน 100 – 200 มก./วัน, แมกนีเซียม 6 mg/kg/d)
กินอาหารมื้อเช้าเป็นมื้อหลัก อย่าดื่มกาแฟก่อนอาหาร ดูแลอย่าให้ท้องผูก เนื่องจากภาวะร้อนตลอดเวลาในผู้ป่วยโรคนี้ ทำให้เชื้อแบคทีเรียโปรไบโอติกดีๆ ในร่างกายเสียหายมาก จึงต้องเติมทั้งโปรไบโอติก เช่นนมเปรี้ยว และพรีไบโอติก ผักผลไม้ กากใย เป็นอาหารที่มีประโยชน์สูง ผู้ที่มีภาวะไทรอยด์ทำงานเกิน มักต้องใช้แคลอรีมากกว่าคนปกติถึงร้อยละ 15 – 20 จนกว่ายาจะควบคุมอาการเข้าสู่ปกติได้ผล
เพิ่มอาหารฤทธิ์เย็น เช่น นมถั่วเหลือง นอกจากระวังการออกกำลังกายแล้ว การฝึกสมาธิคลายเครียด ให้จิตสงบ เป็นสิ่งจำเป็น ตลอดจนการเข้านอนก่อน 4 ทุ่ม
การทำงานของต่อมไทรอยด์ จะรับคำสั่งจากต่อมใต้สมอง (Thyroid stimulating hormone–TSH) การบำรุงต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) ให้แข็งแรง จึงเป็นความหวังหนึ่งในการรักษา แม้จะพบว่าต่อมไทรอยด์ที่ผิดปกติ อาจรับคำสั่งผิดเพี้ยนไปก็ตาม การซ่อมเซลล์สมองและต่อมไพเนียลให้หลั่งสารสุข เมลาโทนิน ให้หลับได้สบาย ร่างกายได้รับการพักผ่อน เซลล์ตับน่าจะช่วยซ่อมแซมตับให้ทำงานเต็มประสิทธิภาพในการขจัดสารพิษ ปรับสมดุล
สารอาหารปรับสมดุลจากหลินจือ น่าจะเป็นอีกความหวังหนึ่งในผู้ป่วยไทรอยด์ผิดปกติ ไม่ว่าเกิน หรือขาดฮอร์โมนนี้ คุณภาพของเยื่อหุ้มเซลล์ และผนังไมโตคอนเดรีย สารระงับยับยั้งปฏิกิริยาอักเสบ ทำให้นึกถึงน้ำมันปลา การเผาผลาญที่มากเกิน มีผลต่อการใช้แคลเซียมในกระดูก พบว่าเมื่อฮอร์โมนไทรอยด์สูง ทำให้มวลกระดูกลดลง เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน จึงต้องเพิ่มอาหารแคลเซียม แมกนีเซียม วิตามินดี ฮอร์โมนเอสโตรเจนจากพืช วิตามินซี โบรอน และแมงกานีส ฯลฯ ตลอดจน โอเมก้า3 น้ำมันปลา
ควรเลี่ยงการดื่มน้ำอาร์โอ (Reverse osmosis) เนื่องจากผู้ป่วยมีแนวโน้มขาดแคลน สารจำเป็นต่อ cellular burn อยู่แล้ว…น้ำดื่มที่ดีควรมีฤทธิ์เป็นด่าง พาสารอาหารได้ดี ดูดซึมง่าย รวมถึงมีโออาร์พีเป็นลบ …งั้นแท่งแม่เหล็กก็มีที่ใช้เหนี่ยวนำ ทำน้ำพลังแม่เหล็กสด ?
ไอโอดีน เป็นสารประกอบสำคัญของฮอร์โมนไทรอยด์ หากได้รับมากเกินไป ก็เป็นสาเหตุของภาวะเกินได้ การจำกัดแร่ธาตุนี้จะระงับการสังเคราะห์ และหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ ในทางตรงข้ามผู้ที่ขาดไอโอดีน ก็อาจเกิดภาวะ Hypothyroid เช่น โรคเอ๋อ
อาหารกลุ่มกอยโตรเจน ซึ่งเป็นสารก่อคอพอกที่ขัดขวางการดูดซึมไอโอดีน อาจนำมาใช้ประโยชน์ในภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน สารนี้พบในผักตระกูลกระหล่ำ เช่น กะหล่ำปลี โดยต้องกินสดๆ (สารถูกทำลายหากปรุงสุก) เกร็ดสุขภาพบางตำรับแนะนำให้กินกะหล่ำปลีดิบ (ที่ปลอดสารพิษ) วันละครึ่งหัว เพื่อช่วยบรรเทาอาการ
รางจืด รากและเถา มีสรรพคุณเป็นยาฤทธิ์เย็น ใช้ใบสด 10 ใบ ตำผสมน้ำซาวข้าวครึ่งแก้ว คั้นน้ำดื่ม เมื่อมีอาการร้อนใน ทุก 1 ชม. (ไม่ควรดื่มติดต่อกันเกิน 7 วัน)
สรุป แนวทางดูแลผู้ป่วยปัญหาไทรอยด์เป็นพิษ
1. ใช้ยาตามแพทย์สั่ง หากอาการกำเริบต้องรีบพบแพทย์
2. เลี่ยงภาวะเครียด การใช้แรงงานหนัก ชา กาแฟ สุรา ยากระตุ้นทั้งหลาย
3. เพิ่มโอพีซี 2x2/วัน
โคคิวเทน 1x3 ถึง 2x3/วัน
เบต้ากลูแคน โคลีนบี และน้ำมันปลา อย่างละ 1x2 ถึง 1x3
จิบดื่มน้ำแมกนีเซียม
4. ใช้เซลล์สมอง, ไพเนียล, ต่อมใต้สมอง, ตับ และต่อมหมวกไต อย่างละ 1x2x10 วัน อวัยวะรวม 1x1x30 วัน
5. นมถั่วเหลืองอุ่นๆ เช้า + ก่อนนอน