ตะกร้าสินค้า

ไม่พบสินค้าในรถเข็น

อาหารต้านโรค

สารสกัดจากใบบัวบก ในรูปแบบไฟโตโซม

ให้เรตสมาชิก: 0 / 5

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

Centella Phytosome บัวบก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Centella asiatica L. เป็นพืชที่จัดอยู่ในวงศ์ Umbelliferae มีลักษณะเป็นพืชล้มลุกที่ขึ้นปกคลุมผิวดินที่มีความชุ่มชื้น ในการแพทย์แผนไทยนำส่วนต่างๆ ของพืชชนิดนี้มาใช้ในการรักษา

ได้แก่ ทั้งต้นใช้บำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง แก้ช้ำใน แก้อ่อนเพลีย ขับปัสสาวะ รักษาบาดแผล แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ปวดหัวข้างเดียว แก้โรคเรื้อน แก้กามโรค แก้ตับอักเสบ เมล็ดใช้แก้บิด แก้ไข แก้ปวดหัว 59 มีรายงานการวิจัยพบว่า น้ำมันหอมระเหยจากใบบัวบก ซึ่งประกอบด้วยสารกลุ่ม monoterpenes เช่น bornyl acetate, α-pinene, -pinene, -terpinene มีฤทธิ์ยับยั้งการทางานของเอ็นไซม์ acetylcholinesterase แต่มีฤทธิ์น้อยกว่าสารกลุ่ม alkaloids ที่มีฤทธิ์ยับยั้งเอ็นไซม์ acetylcholinesteraseเช่นphysostigmine1-5

 

จากรายงานการวิจัยการให้สารสกัดแอลกอฮอล์จากบัวบกแก่หนูแรท พบว่าสารสกัดชนิดนี้มีฤทธิ์กล่อมประสาท (tranquilizing) ซึ่งเกิดจากสารไตรเทอร์ปีน (triterpenes) ที่ชื่อว่า brahmoside6

สารสกัดจากใบบัวบกยังมีฤทธิ์กดประสาท (sedative) ต้านอาการซึมเศร้า (antidepressant) และมีฤทธิ์เป็น cholinomimetic ในสัตว์ทดลอง7 จากการค้นพบนี้จึงอาจนำบัวบกไปใช้รักษาอาการซึมเศร้าและอาการกังวลในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้ โดยมีผลกระตุ้นระบบ cholinergic activity และเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ (cognitive function) จากรายงานการวิจัยในหนูแรทพบว่า เมื่อให้สารสกัดด้วยน้ำจากบัวบกทางปากแก่หนูแรท จะทำให้หนูแรทมีการเรียนรู้ที่ดีขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากการที่สารสกัดมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในระบบประสาทส่วนกลาง8 สารสกัดด้วยน้ำจากใบบัวบกยังมีฤทธิ์ควบคุมระบบ dopamine, 5-HT และ noradrenaline ในสมองหนูแรทและช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และเพิ่มความจำในสัตว์ทดลอง9 สาร triterpene asiatic acid และ อนุพันธ์ที่พบในบัวบกยังช่วยป้องกัน cortical neuron จากพิษของสารกลูตาเมทซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นเซลล์ประสาท (glutamate-induced excitotoxicity) ในหลอดทดลอง10

 

นอกจากประโยชน์ด้านสมองแล้ว ในใบบัวบกยังมีสารไกลโคไซด์ (Glycosides) ซึ่งจะช่วยต่อต้านการเกิดอนุมูลอิสระ ที่จะทำให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกายเราเสื่อมเร็ว และสารที่ว่านั้นก็ยังช่วยสร้างคอลลาเจน (Collagen) ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้แผลสมานตัวกันเร็วขึ้น สำหรับผู้ที่มีแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกหรือฟกช้ำตาม ร่างกาย ให้ใช้ใบบัวบกตำละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำมาทาหรือเอากากมาพอกไว้ที่แผล ก็จะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น และยังช่วยการเร่งเนื้อเยื้อ ลดการติดเชื้อ ช่วยห้ามเลือด ลดการอักเสบ ทั้งยังลดการเกิดแผลเป็นชนิดนูนได้ด้วย

อย่างไรก็ตาม สำหรับข้อมูลในการศึกษาวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์นั้น ได้มีรายงานมากมายทั้งการศึกษาทางเคมี ทางเภสัชวิทยาและทางด้านพิษวิทยา อาทิเช่น งานวิจัย ของ รศ.ดร. อุษณีย์ วินิจเขตคำนวณ ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลับเชียงใหม่11 ได้วิจัยบัวบกเพื่อหาสารมะเร็งลำไส้ใหญ่ พิสูจน์กลไกการออกฤทธิ์พบว่า เซลล์ที่ผิดปกติจะมีขนาดลดลง เมื่อนำสารสกัดจากใบบัวบกไปทำปฏิกิริยากับเซลล์มะเร็งในห้องปฏิบัติการ พบว่า สารสำคัญดังกล่าวสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

 

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ทำการทดลองในหนู พบว่าสารสกัดใบบัวบกสามารถรักษาโรคกระเพาะได้ โดยสามารถลดขนาดของแผลในกระเพาะอาหารของหนูได้อย่างมีนัยสำคัญ บอกถึงศักยภาพที่อาจจะทดลองนำมาใช้ในคนได้12 เนื่องจากใบบัวบก ได้มีการใช้ทั้งในประเทศจีนและอายรุเวทของอินเดียมานานแล้วในด้านลดความเครียด ในงานวิจัยในหนูพบว่า สามารถลดความเครียดได้จริง จึงมีงานวิจันทางด้านนี้ในกลุ่มคนอาสาสมัคร พบว่ามีผลลดความเครียดได้จริง (Anxiolyticactivity) อย่างมีนัยสำคัญ13

สารสำคัญในใบบัวบก มีผลดีอย่างมากมายในผู้ป่วยเบาหวาน มีรายงานวิจัยเกี่ยวกับสารสกัดใบบัวบกในผู้ป่วยเบาหวาน เป็นงานวิจัยที่เชื่อถือได้ ทำในประเทศอังกฤษ ที่ St Mary's Hospital and Imperial College โดยพบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดใบบัวบก มีผลดีขึ้นในทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญ จึงใช้ในการลดความเสี่ยงการเกิดภาวะที่ไม่ดีเหล่านี้ในผู้ป่วยเบาหวาน14 เมื่อผลออกมาเป็นอย่างนี้แล้ว เพื่อความแน่ใจที่มากขึ้น คณะแพทย์กลุ่มเดิมได้ทำการทดลองเพิ่มขึ้นอีก ที่นี้ทำเป็นระยะยาวนานถึง 1 ปี และเลือกผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการมากกว่าเดิม คือมีทั้งบวม และมีเหน็บชาร่วมด้วย และวัดแบบเดิม ก็ยังพบว่าการบวมลดลง การหมุนเวียนเลือด และค่าออกซิเจนในเลือดดีขึ้นอย่างมากเช่นกัน15

โดยทั่วไปสารสกัดจากพืชจะมักไม่ค่อยถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย และเพื่อให้เห็นประสิทธิภาพทางคลีนิคชัดเจน จะต้องรับประทานปริมาณสารสกัดใบบัวบกในปริมาณค่อนข้างสูง จากเทคโนโลยีการผลิตใหม่ ได้ทำการพัฒนาสารสกัดใบบัวบกให้อยู่ในรูปของ phytosome เพื่อช่วยเพิ่มการดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ดังนั้น ขนาดรับประทานจึงมีปริมาณต่ำลงเมื่อเปรียบเทียบกับสารสกัดใบบัวบกทั่วๆ ไป

 

What is a Phytosome ?

A Phytosome is a solid dispersion of an extract in a dietary phospholipid matrix (lecithin). Incorporation of the considered extract into an amphiphilic milieu prevents its self-aggregation, and these formulations have the specific aim to improve the absorption of poorly available active ingredients, mimicking the effect of a fatty meal.

 

Why use Phytosome formulation?

The Phytosomes are used to optimize bioavailability of natural ingredients. Components with too high polarity cannot overcome the lipidic barrier of the skin or the gastro-intestinal system, and, therefore, cannot be absorbed. The phytosome helps to reduce the polarity of natural substances, thus making them more easily absorbable. In other words, the Phytosome is an innovative transportation system for poorly bioavailable natural ingredients.

 

What are the advantages of the Phytosome?

It optimize absorption and, consequently, bioavailability of active ingredients.

In both oral and topical tests, Phytosome has demonstrated a higher biological activity compared to an equal amount of the active ingredient or extract not made in the Phytosome form.

 

What is the difference between Phytosome and liposome?

In a Phytosome, a poorly water soluble or polar active ingredient is anchored to the polar head of the phospholipid and becomes an integral part of the micellar membrane, unlike liposomes, in which the active ingredient is generally contained

inside the micelle structure consisting of phospholipids.

1. Asakawa Y, Matsuda R, Takemoto T. Monoterpenoids and sesquiterpenoids from Hydrocotyle and Centella species. Phytochemistry 1982; 21(10): 2590-2.

2. Brinkhaus B, Lindner M, Schuppan D, et al. Chemical, pharmacological and clinical profile of the East Asian medicinal plant Centella asiatica. Phytomedicine 2000; 7(5): 427-48.

3. Miyazawa M, Watanabe H, Kameoka H. Inhibition of acetylcholinesterase activity by monoterpenoids with a p-menthane skeleton. Journal of Agricultural and Food Chemistry 1997; 45: 677-9.

4. Perry NSL, Houghton PJ, Theobald A, et al. In-vitro inhibition of human erythrocyte acetylcholinesterase by Salvia lavandulaefolia essential oil and constituent terpenes. Journal of Pharmacy and Pharmacology 2000a; 52: 895-902.

5. Ryan MF, Byrne O. Plant-insect co-evolution and inhibition of acetylcholinesterase. Journal of Chemical Ecology 1988; 14(10): 1965-75.

6. Kapoor LD. Handbook of Ayurvedic medicinal plants. Boca Raton (FL): CRC Press; 1990.

7. Sakina MR, Dandiya PC. A psycho-neuropharmacological profile of Centella asiatica extract. Fitoterapia 1990; 61(4): 291-6.

8. Kumar MHV, Gupta YK. Effect of different extracts of Centella asiatica on cognition and markers of oxidative stress in rats. Journal of Ethnopharmacology 2002b; 79: 253-60.

9. Nalini K, Aroor AR, Karanth KS, et al. Effect of Centella asiatica fresh leaf aqueous extract on learning and memory and biogenic amine turnover in albino rats. Fitoterapia 1992; 63(3): 232-7.

10. Lee MK, Kim SR, Sung SH, et al. Asiatic acid derivatives protect cultured neurons from glutamate-induced excitotoxicity. Research Communications in Molecular Pathology & Pharmacology 2000; 108(1-2): 75-86.

11. ผู้จัดการออนไลน์ 3 พ.ค. 47 16:03:23 http://www.manager.co.th/qol/viewNews.asp?newsid=4759613930582"

12. A double-blind, placebo-controlled study on the effects of Gotu Kola (Centella asiatica) on acoustic startle response in healthy subjects. J Clin Psychopharmacol 2000 Dec;20(6):680-4

13. A double-blind, placebo-controlled study on the effects of Gotu Kola (Centella asiatica) on acoustic startle response in healthy subjects. J Clin Psychopharmacol 2000 Dec;20(6):680-4

14. Evaluation of treatment of diabetic microangiopathy with total triterpenic fraction of Centella asiatica: a clinical prospective randomized trial with a microcirculatory model. Angiology 2001 Oct;52 Suppl 2:S49-54

15. Treatment of diabetic microangiopathy and edema with total triterpenic

 

fraction of Centella asiatica: a prospective, placebo-controlled randomized study. Angiology2001Oct;52Suppl2:S27-31. AlternMedRev2001Apr;6(2):126-40.