ตะกร้าสินค้า

ไม่พบสินค้าในรถเข็น

มะเร็ง

จับประเด็นความรู้สู้มะเร็ง

ให้เรตสมาชิก: 0 / 5

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

ดร.ออตโต วาร์เบิก (Dr.Otto Warburg) ได้รับรางวัลโนเบลประจำปี 1932 จากความรู้ที่ว่ามะเร็งไม่ชอบออกซิเจน และมะเร็งจะเกิดยากในที่มีออกซิเจนสมบูรณ์ (จากหนังสือ Water for Life โดยศ.ดร.นพ.สมศักดิ์ วรคามิน)

ดร.วาร์เบิก ได้รับรางวัลโนเบลถึง 2 ครั้งซ้อน

นพ.เปรอง (Dr.P.Pierron) เสนอผลงานวิจัย “สาเหตุการไม่เกิดโรคเนื้องอกในประเทศอียิปต์” ในคศ.1931ไว้ สรุปความได้ว่า สิ่งที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ ในอาหารและน้ำดื่มของชาวอียิปต์ชนบท มีแร่ธาตุแมกนีเซียมอุดมสมบูรณ์

  • ยังมีปัจจัยส่งเสริมบูรณาการต้านมะเร็งที่เข้าได้กับทฤษฎีของดร.วาร์เบิก เช่น ภูมิต้านทานที่สำคัญของร่างกายคือ เม็ดเลือดขาวทั้งหลาย พบว่าน้ำตาลไปลดประสิทธิภาพของเม็ดเลือดขาวภูมิคุ้มกันทำให้ขาดความสามารถทำลายเชื้อมะเร็ง มะเร็งก็เลยเติบโตได้ง่ายในสภาวะกรดที่มีน้ำตาลเป็นตัวช่วย
  • มีผลการสำรวจ พบว่า ผู้คนในหลายพื้นที่ ที่มีดินอุดมด้วยธาตุซีลีเนียม มักพบอุบัติการณ์มะเร็งต่อมลูกหมากน้อยกว่าพื้นที่ที่ขาดธาตุนี้ จึงเป็นที่มาของความเชื่อหรือเข้าใจว่า ซีลีเนียมมีบทบาทต่อต้านมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชาย ปริมาณซีลีเนียมที่ร่างกายต้องการคือวันละ 50 – 200 ไมโครกรัม (แต่การได้รับมากไปก็เกิดพิษ เช่น อาเจียน ท้องร่วง เลือดจาง เล็บและฟันหลุดได้)
  • ทำนองเดียวกัน ก็พบอุบัติการณ์ที่สอดคล้องต้องกันได้ว่า แคลเซียมช่วยต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • สตรีชาวเอเชียที่บริโภคถั่วเหลืองตั้งแต่วัยรุ่น มีอุบัติการณ์มะเร็งเต้านมน้อยกว่าชาวตะวันตกอย่างมีนัยสำคัญ และแม้จะเป็นขึ้นมา เนื้องอกก็มักจะรุนแรงน้อยกว่า มีอัตรารอดชีวิตสูง กว่าคนยุโรปและอเมริกา ฮอร์โมนพืชได้รับการยอมรับถึงความปลอดภัย อีกทั้งมีอุบัติการณ์ต้านมะเร็ง ในภูมิภาคที่บริโภคถั่วเหลืองเป็นประจำ…ดูเหมือนอธิบายกลไกการออกฤทธิ์ได้ว่าฮอร์โมนพืชที่ออกฤทธิ์อ่อนกว่า ไปแย่งจับกับตัวรับ (receptor) ทำให้เซลล์ไม่ถูกกระตุ้นโดยฮอร์โมนของร่างกาย โดย Isoflavone หรือฮอร์โมนพืชที่มีมากในถั่วเหลือง ช่วยต้านมะเร็งเต้านม แต่ว่าต้องได้รับตั้งแต่อายุยังไม่มาก มะเร็งต่อมลูกหมากในชายชาวญี่ปุ่นก็เกิดช้ากว่าชาวตะวันตก
  • อนุมูลอิสระจากมลพิษ ควันไฟ บุหรี่ แอลกอฮอล์ ของปิ้งย่างที่ไหม้เกรียม เชื้อรา อะฟลาทอกซิน ตลอดจนความเครียด ล้วนเป็นสิ่งก่อหรือส่งเสริมมะเร็ง ในขณะที่สารต้านอนุมูลอิสระ, พลังจิต เป็นสิ่งต่อต้านมะเร็ง ผลการวิจัยระบุว่า การบริโภคเนื้อแดง ไม่ว่าเนื้อหมู แกะ หรือเนื้อวัว เป็นประจำ เป็นสาเหตุหนึ่งของมะเร็ง อาการท้องผูก อาหารโปรตีน ไขมันตกค้างในลำไส้ เน่าเสียเกิดเป็นสารพิษ ระคายผนังลำไส้ เป็นสาเหตุสำคัญของมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • โปรไบโอติก แบคทีเรียช่วยย่อยผลิตสารต้านพิษ และพรีไบโอติกซึ่งเป็นกลุ่มอาหารส่งเสริมแบคทีเรียชนิดโปรไบโอติก และกากใยจึงช่วยดูดซึม กวาดล้างพิษ ก็ต่อต้านมะเร็งได้ทางหนึ่ง
  • อานิสงส์จากข้อเขียนของ ดร.รพีพรรณ สุรศักดิ์วรกุล ในหนังสือ “สุดยอดสารอาหารต้านมะเร็ง” กล่าวถึงการวิจัยที่พบว่า “ผู้ที่ดื่มนมวัวไขมันสูงเป็นประจำ จะมีความเสี่ยงต่อมะเร็งหลายชนิดสูงกว่าคนที่ไม่ดื่มนมเลย…ส่วนผู้ที่ไม่ดื่มนมเลย มีอุบัติการณ์มะเร็งสูงกว่าผู้ดื่มนมพร่องมันเนยเป็นประจำ”
  • เมื่อนำแต่ละเรื่องราวมาผูกเข้าแบบบูรณาการ พอสรุปได้ชัดเจนว่า ชีววิถีประกอบกับสิ่งแวดล้อม ที่ได้อาหารประเภทไขมัน และน้ำตาล อันส่งเสริมสภาวะกรด ลดระดับออกซิเจนในร่างกายเป็นปัจจัยสำคัญนำไปสู่มะเร็ง ในขณะที่สภาวะด่าง มีออกซิเจนมากพอช่วยต่อต้านมะเร็ง…คุณภาพน้ำช่วยต้านมะเร็ง…ฮอร์โมนพืชช่วยต้านมะเร็ง ในนมนั้นมีไขมันและโปรตีนชั้นเลว(เคซีน)มากมาย เป็นปัจจัยเชื้อเชิญมะเร็ง มากจนแคลเซียมที่ว่ามีมากในนม ต้านไม่อยู่ แคลเซียม เป็นตัวสร้างสภาวะด่าง ต้านมะเร็ง ครั้นพอพร่องมันเนย จึงสามารถแสดงผลต้านมะเร็งให้โดดเด่น มีนัยยะกว่าคนที่ไม่ได้แคลเซียมเพียงพอ ส่วนถั่วเหลืองนั้น มีทั้งแคลเซียม แมกนีเซียม ซีลีเนียม และฮอร์โมนพืช เจนิสติน ไฟโตเอสโตรเจน ผสมผสานกันต้านมะเร็ง

ยิ่งปัจจุบันเราอยู่ในภาวะการณ์พืชจีเอ็มโอ ปลูกได้ไม่เลือกพื้นที่ จึงยิ่งเลวร้ายในเรื่องส่วนประกอบแร่ธาตุที่พึงมี การเพิ่มแมกนีเซียม ซีลีเนียมจากอาหารเสริม ก็จึงเป็นทางเลือก แต่ซีลีเนียมนั้นก็มีข้อจำกัดว่า ถ้ามากเกินก็เป็นพิษ อีกสิ่งที่ช่วยสร้างสภาวะด่าง เติมออกซิเจน เป็นพื้นฐานอาหารประจำวันก็คือ น้ำดื่ม…น้ำอาร์โอนั้นให้สภาวะกรด น้ำที่มีแร่ธาตุ เพียงพอก็ช่วยก่อสภาวะด่าง

แต่น้ำแร่ธรรมชาติก็มีความปรวนแปรในส่วนผสมที่ละลายจากพื้นดินขึ้นมา และผลการวิเคราะห์ที่นำมาแสดงของแต่ละแหล่งน้ำแร่ ก็เป็นผลขณะวิเคราะห์ ณ เวลานั้น…พอผ่านมาเป็นปี มีหรือจะไม่แปรเปลี่ยน…ตัวอย่างสารฟลูออไรด์เกินพิกัดก็มีให้เจอะเจอบ่อยครั้งในหลายแหล่งน้ำแร่ จึงเป็นภาระจำเป็นในการจัดการให้ร่างกายได้รับน้ำที่มีสภาวะด่างอย่างสม่ำเสมอ อย่าลืมว่า “pH is a Silent Killer”